ความปลอดภัยของสารสนเทศ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์

เวิร์ม (Worm)

เวิร์ม (Worm) มีลักษณะและพฤติกรรมคัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่อง อื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย และเหมือนจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจมากที่สุด

โทรจัน (Trojan)

โทรจัน (Trojan) เป็นมัลแวร์อีกชนิดที่พบเห็นการแพร่ระบาดได้ทั่วไป มีลักษณะและพฤติกรรมไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปไว้ในเครื่องหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อ จากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ หรือมีจุดประสงค์เพื่อล้วงเอาความลับต่างๆ

Hoax virus (ข่าวสารหลอกลวง)

Hoax virus คือข่าวลือรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการปล่อยออกมาเพื่อสร้างความสับสนวุ่นวายหรือความ
เข้าใจผิดให้แก่บุคคลที่ได้รับส่วนใหญ่ hoax จะแพร่กระจายผ่านทาง E-mail, โปรแกรมสื่อสารต่างๆ
โดยส่วนใหญ่จะมีการบอกให้ส่งต่อไปเป็นทอดๆ ความน่ากลัวของแต่ละอันนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ จิตวิทยา
ของตัวผู้ทำเองว่าต้องการให้เป็นเช่นไร โดนส่วนใหญ่ hoax นั้นมักถูกส่งมาในรูปแบบของข่าวแจ้งเตือน
หรือข้อความต่างๆที่ดูจะเป็นประโยชน์ โดยจุดเด่นที่น่าสนใจของตัว hoax ได้แก่การอ้างอิงข้อมูลที่มา
จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและการส่งผ่านมายังเพื่อนสนิททำให้ hoax นั้นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

 

ฟิชชิง (Phishing)

ฟิชชิง (Phishing) คือเทคนิคการหลอกลวงผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินจำพวก Online Bank Account เป็นต้น โดยใช้เทคนิคแบบ Social Engineering ประกอบเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ในการขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์เข้าไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง คำว่า Phishing มาจากคำว่า Fishing ที่แปลว่าการตกปลา ซึ่งหมายถึง การปล่อยให้ปลามากินเหยื่อที่ล่อไว้

ไฟร์วอลล์ (firewall)

ไฟร์วอลล์ คือ “ระบบหรือกลุ่มของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงระบบระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่ายใดๆ” เมื่อพิจารณาในส่วนการนำไปใช้งานกับเครือข่ายที่บ้าน ไฟร์วอลล์ที่จะนำไปใช้งานจะมีรูปแบบการทำงานตามลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ต่อไปนี้

– ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ หมายความถึงซอฟต์แวร์ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่กำหนดโดยเฉพาะ
– ไฟร์วอลล์ชนิดเครือข่าย เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาใช้ในการป้องกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป จนถึงหลายๆ เครื่อง

พร๊อกซี่ Proxy  

คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แทนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆที่ตั้งอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออาจเรียกง่ายว่า proxy คือตัวกลาง ซึ่งเป็นตัวกลางคั่นเรากับอินเตอร์เน็ต นั้นคือเมื่อคุณกำลังจะเปิด website ผ่าน proxy คุณก็จะส่งข้อมูลไปยัง proxy ก่อน และ proxy ก็จะส่งต่อไปยัง website ที่คุณต้องการจะเปิด แทนที่คุณจะติดต่อกับ website นั้นโดยตรง การใช้งาน Proxy สามารถทำได้ดังนี้ เช่น ใช้โปรแกรม proxy อย่างโปรแกรม Proxy Vampire, WinProxy เป็นต้น และนอกจากนี้ เรายังสามารถตั้งค่าเว็บบราวเซอร์ โดยทำการ set proxy เพื่อให้เราสามารถเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกได้ แบบสบายๆ เหมือนไม่ได้ถูกบล็อก

คุ๊กกี้ Cookies

คือ เท็กไฟล์ขนาดเล็ก ที่มีขนาดในไฟล์แต่ละชุดไม่เกิน 4 KB โดยถูกจัดเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้านฝั่งของผู้ใช้บริการ (Client) หรือผู้ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ โดยภายในคุกกี้แต่ละตัวจะมีส่วนประกอบไปด้วย ชื่อคุกกี้ (Name) ค่าที่เก็บอยู่ในคุกกี้ (Value) และวันหมดอายุของคุกกี้ (Expiry Date) พร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับโฮส Host และ Path  โดยปกติแล้วคุกกี้ะถูกกำหนดมาพร้อมกับข้อมูลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ส่งมาให้กับ Client โดยจะอยู่ในส่วนของ HTTP Heade

 

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ

หมายถึง การผลิต การจัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศ โดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
มีความสำคัญในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิ การศึกษาในระบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์
เพื่อติดต่อกับสถาบันการศึกษา
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
1)ความสำคัญด้านการบริหารการจัดการ
บริหารงานในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูงให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2)ความสำคัญด้านการดำเนินงาน
เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆตามที่หน่วยงานดำเนินการ
3)ความสำคัญด้านกฏหมาย
เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้จากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฏหมาย

พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
ศตวรรษที่ 12 เกิดสถาบันการศึกษาที่เป็นทางการ ห้องสมุดของสถาบันศึกษา
คริสต์ศตวรรษที่ 15 โยฮานน์ กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมันได้คิดเครื่องพิมพ์ขึ้น พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรปคือ ไบเบิลในภาษาละติน
ศตวรรษที่ 16 กิจการการค้าหนังสือแพร่จากทวีปยุโรปสู่ทวีปอื่นทางเส้นทางการค้าและพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่
ศตวรรษที่ 19 มีการประดิษฐ์หนังสือ สื่อบันทึกเสียง ภาพ และอื่นๆ
3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสุญญากาศ
ทศวรรษที่ 1960 คอมพิวเตอร์เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่
ช่วง ค.ศ. 1980 เป็นต้นมาพัฒนาการคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าขึ้น อาทิ ไมโครคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ
1)รวบรวมข้อมูล
2)การตรวจสอบข้อมูล
3)การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
4)การดูแลรักษาสารสนเทศ
5)การสื่อสาร

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ
-รวบรวมสารสนเทศ collecting
-จัดหมวดหมู่ organizing
-ประมวลผล processing
-บำรุงรักษา maintaining
โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 4 ด้าน คือ เทคโนโลยี คน กระบวนการ และการบริหารจัดการ

การจัดการสารสนเทศนั้นไม่ได้เน้นแค่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ กระบวนการทางธุรกิจและการปฏิบัติที่จะวางรากฐานการสร้างและการใช้งานสารสนเทศ รวมทั้งยังเกี่ยวพันถึงตัวสารสนเทศเองด้วย
ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของสารสนเทศ คำอธิบายข้อมูล คุณภาพของเนื้อหา ดังนั้น การจัดการสารสนเทศ จึงประกอบด้วย คน กระบวนการ เทคโนโลยี และเนื้อหา ซึ่งแต่ละหัวข้อต้องถูกระบุรายละเอียดให้ชัดเจน การจัดการสารสนเทศ
จึงจะประสบความสำเร็จ

 

เทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลัก

คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆและปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้

ประกอบด้วยอุปกรณ์สองตัวคือ

1.1 ฮาร์ดแวร์(Hardware)

-อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Input)

-อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output)

-หน่วยประมวลผลกลาง จำทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

-หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาอุปกรณ์รับข้อมูล ก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล

-หน่วยความจำสำรอง  ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมในขณะที่ยงไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

1.2 ซอฟต์แวร์ (software)

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงาานของเครื่องคอมพิวเตอร์

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

 1.2.1ซอฟต์แวร์ระบบ  มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์

1.2.2ซอฟค์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ

กระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ

นำเข้าข้อมูล > การประมวลผลข้อมูล > การแสดงผลข้อมูล

1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน


            วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุดดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ในปุจจุบันนี้ การวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้

บทบาทสารสนเทศกับสังคม

 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

                     การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  ทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ ทั้งด้านความเป็นอยู่ การทำงาน การสื่อสาร การคมนาคมและขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา ในปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และในทางกลับกันก็มีขนาดเล็กลง เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี” (Nanotechnology) ทำให้การสื่อสารของข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น  และไร้พรมแดน อาจเรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Community) สังคมต่างๆจะต้องก้าวสู่สังคมสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หมายความว่าเราจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยอมรับมันหรือไม่ก็ตาม เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่งแวดล้อม และยิ่งมีคุณสมบัติเด่นๆอย่างอื่น อาทิโดย..                                1. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

                                                        2.การเพิ่มคุณภาพของงาน

                                                        3.การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ

                                                        4.การสร้าผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ๆขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ?

สารสนเทศกับบุคคล

มีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่ยำและรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine)การศึกษาทางไกล (Tele-Education)

สารสนเทศกับสังคม

ด้านการศึกษา

 ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

ด้านสังคม

สารสนเทศนั้นจะช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม และมีความสร้างสรรค์ ในการคิด สร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ด้านเศรษฐกิจ

สารสนเทศทางด้านธุรกิจการค้าถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ก็เพราะว่าสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต และยังช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ตามความต้องการของตลาด

ด้านวัฒนธรรม

สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา

คนเราจะพัฒนาตัวเองได้จะต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ค้นคว้า มีระบบสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ และมีคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้ และรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (Learning Society) ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

ในปัจจุบันประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทำให้เทคโนโลีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ

MY PROFILE ^______^

อันชื่อเสียงเรียงนามของข้าพเจ้านั้นคือ… -0-

“นางสาวเจนจิรา  ศรีทอง”

นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ

และรหัสนิสิต ที่ยังตามหาพี่รหัสไม่เจอซักกะที ….. 55010110059 รายงานตัวค่า~!!!! (ฮ่าๆ)

เรียนอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมา 6 ปีแล้ว และต้องอยู่ต่อไปอีกให้ครบ 10 ปี (ท่าทางจะขลังน่าดู ^_^)

ความฝันอันสูงสุดในชีวิตคือ …

อยากไปเที่ยวรอบโลก …

รูปภาพ

และ…

ได้มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนให้มากที่สุด…